ads by google

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี


การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี
         การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
          1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา ถ้าไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาได้อาจเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรงนักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

Nuclear01
 ภาพที่ 2 การเกิดปฏิกิริยาฟิชชัน
ที่มา : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Topic.html

2. ปฏิกิริยาฟิวชัน(Fusion reaction) คือ ปฏิกิริยา นิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการคายความร้อนออกมาจำนวนมหาศาลและมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชันเสียอีก ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันดี คือ ปฏิกิริยาระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) ดังภาพ

Nuc_Ac02
ภาพที่ 3 การเกิดปฏิกิริยาฟิวส์ชัน 
ที่มา : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Topic.html
ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี
            1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14 (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
            4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอย ร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบน อัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
            5.ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
            6.ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

x-ray
nuclear3nuclear2
เอ็กซ์-เรย์
อาบรังสีเพื่อถนอมอาหาร
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
ภาพที่ 4 ตัวอย่างประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี 
ที่มา : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Topic.html



ตารางที่ 5 แสดงธาตุและไอโซโทป
ธาตุ/ไอโซโทป
ครึ่งชีวิต
แบบการสลายตัว
ประโยชน์
C-14
5,760 ปี
บีตา
หาอายุวัตถุโบราณ
Co-60
5.26 ปี
แกมมา
รักษามะเร็ง
Au-198
2.7 วัน
บีตา แกมมา
วินิจฉัยตับ
I-125
60 วัน
แกมมา
หาปริมาณเลือด
I-131
8.07 วัน
บีตา แกมมา
วินิจฉัยอวัยวะ
P-32
14.3 วัน
บีตา
รักษามะเร็ง
Pu-239
24,000 ปี
แอลฟา  แกมมา
พลังงาน
K-40
1x109 ปี
บีตา
หาอายุหิน
U-238
4.5x109 ปี
แอลฟา  แกมมา
วัตถุเริมต้นให้ Pu-239
U-235
7.1x109 ปี
แอลฟา  แกมมา
รักษามะเร็ง
Cl-36
4x105 ปี


Po-216
0.16 วินาที


Ra-226
1,600 ปี
แอลฟา  แกมมา
รักษามะเร็ง

โทษของธาตุกัมมันตรังสี
 1. ถ้าร่างกายได้รับจะทำให้โมเลกุล ภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอด ลักษณะพันธุกรรม ก็จะเกิดการผ่าเหล่า โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมในกระดูก 
 2. ส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบ

ผลจากการนำผลิตผลเกษตรไปฉายรังสีหรืออาบรังสี แสดงในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 6 แสดงผลของการฉายรังสีที่ขนาดของรังสีขนาดรังสีต่าง ๆ
ขนาดของรังสีหรือโดส (กิโลเกรย์)
ประโยชน์หรือโทษ
0.05    -  0.15
0.15    -  0.75
0.25    -  0.50
2.0       -  3.00
มากว่า  3.00
ยับยั้งการงอกของมันฝรั่ง  มันเทศ เผือก หอมหัวใหญ่ กระเทียม ขิง และแครอท
ใช้เป็นวิธีกำจัดแมลงที่ติดไปกับผักและผลไม้
ชะลอการสุกหรือการเสื่อมสภาพของผลไม้บางชนิด
ควบคุมการเจริญเติบโตของโรคหลังการเก็บเกี่ยว
และชะลอการสุกของผลไม้บางชนิด
เกิดอาการผิดปกติที่เนื้อผลไม้  (เช่น เนื้อผลไม้อ่อนนุ่ม
และมีกลิ่นแปลกปลอม)
 เทคโนโลยีการใช้รังสีในการถนอมรักษาอาหารและผลผลิตทางการเกษตร
มีประโยชน์นานับประการ เช่น ยับยั้งการงอก ควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงวันทอง ชะลอการสุกของผลไม้ การกำจัดโรค การยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แต่วิธีการใช้รังสีค่อนข้างซับซ้อน และการลงทุนในขั้นแรกค่อนข้างสูง การใช้กัมมันตรังสีทางอุตสาหกรรมใช้รังสีแกมมาและรังสีเอกซ์  ตรวจสอบรอยเชื่อมของโลหะ การเชื่อมตัวเรือดำน้ำ การจัดความหนาของกระดาษ การวัดปริมาณซัลเฟอร์ในปิโตรเลียม เป็นต้น 
การป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี 
อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี  ขึ้นกับปริมาณพลังงานของกัมมันตรังสีต่อมวลที่ถูกรังสี และสำคัญของส่วนที่ถูกกัมมันตภาพรังสีต่อการดำรงชีวิต  ผู้ที่จะนำกัมมันตภาพรังสีไปใช้ประโยชน์  ไม่ว่าในการแพทย์  ทางการเกษตรทางอุตสาหกรรม ตลอดจนค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ  จะต้องมีความรู้ทางด้านกัมมันตรังสี  เป็นอย่างดี  รู้จักวิธีใช้                    ที่ปลอดภัย  และวิธีป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีเหล่านั้นด้วย

ตารางที่ 7 ประโยชน์บางประการของธาตุและสารประกอบของธาตุ
ธาตุและสารประกอบของธาตุบางธาตุ  มีประโยชน์ดังนี้
ธาตุและสารประกอบ

ประโยชน์

ลิเทียม  (Li)-เกลือของลิเทียมนำไปใช้รักษาโรคบางชนิด
โซเดียม (Na)-นำไปใช้เป็นเซลล์เชื้อเพลิง
-โซเดียมเหลวเป็นตัวนำความร้อนที่ดี ใช้เป็นตัวทำความเย็นในปฏิกรณ์ปรมาณู
สารประกอบโซเดียม-โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ใช้ปรุงอาหาร ถนอมอาหาร
-โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ใช้ทำสบู่
-โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) ใช้ทำโซดาซักผ้าเติมลงไปในสารซักฟอก และใช้โรงงานอุตสาหกรรมแก้วและกระดาษ
สารประกอบโพแทสเซียม- เกลือของโพแทสเซียมร้อยละ 90 ใช้ทำปุ๋ย
-โพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI)  ใช้เป็นเกลือไอโอไดด์ป้องกัน      
โรคคอพอก
-โพแทสเซียมคาร์บอเนต (K2CO3)  ใช้ทำแก้ว
-โพแทสเซียมไนเตรต (KNO3)  ใช้ทำดอกไม้เพลิง  ดินปืน
-โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ใช้ทำสบู่
แมกนีเซียม  (Mg)-ใช้เป็นโลหะเจือกับอะลูมิเนียม มีสมบัติความหนาแน่นต่ำใช้ทำส่วนประกอบของเครื่องบิน
-ใช้ทำหลอดไฟถ่ายรูป
-ใช้ทำแสงวอบแวบ
สารประกอบแมกนีเซียม- แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์  [Mg(OH2) ]หรือ นมของแมกนีเซียม 
ใช้ลดกรดในกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาระบาย และใช้เป็นส่วนผสมของยาสีฟัน
- ออกไซด์ของแมกนีเซียม (MgO) ใช้ทำเตาอิฐและทำปุ๋ย

ธาตุและสารประกอบ
ประโยชน์
สารประกอบเรเดียม-เป็นสารกัมมันตรังสี ใช้ในการวินิจฉัยโรคและใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์
ฟลูออรีน  (F)- ฟลูออโรคาร์บอน ใช้เป็นสารทำความเย็น                                     ในเครื่องทำความเย็น  (ตู้เย็น, เครื่องปรับอากาศ)
-โซเดียมฟลูออไรด์  ใช้ผสมในน้ำดื่ม  ป้องกันฟันผุ
คลอรีน  (Cl)- ธาตุ  ใช้ผสมในน้ำดื่ม  เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ ,ใช้ฟอกสีเยื่อไม้และผ้าฝ้าย
ไอโอดีน  (I)-ธาตุ ใช้ทำสารละลายไอโอดีนในแอลกอฮอล์  เช่น

ทิงเจอร์ไอโอดีน ซึ่งใช้ป้องกันแผลเน่า

-โพแทสเซียมไอโอไดด์   ใช้เติมลงไปในเกลือแกงเพื่อป้องกัน
โรคคอพอก

โมเลกุลของธาตุ ประกอบด้วยอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปมาสร้างแรงยึดเหนี่ยวกัน เช่น แก๊สออกซิเจน( O2) , แก๊สโอโซน (O3) , แก๊สคลอรีน(Cl2) , แก๊สไนโตรเจน (N2) , แก๊สไฮโดรเจน (H2) เป็นต้น

0001

ภาพที่ 4 ตัวอย่างโมเลกุลของธาตุ
ที่มา : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Topic.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น